วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีน่ารู้

รีโมตถอยไป!เทคโนโลยีใหม่สั่งเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยสมอง


อีกไม่นาน สวิตช์แสง, รีโมททีวี หรือแม้แต่กุญแจบ้านอาจจะต้องเข้าพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณแล้ว เมื่อล่าสุดมีการคิดค้นเทคโนโลยีสั่งการคอมพิวเตอร์ด้วยสมอง ( brain-computer interface : BCI) ในยุโรป โดยผู้ใช้เพียงแค่สั่งการด้วยการนึกคิดของสมองเท่านั้น

เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาจัดแสดงที่ CeBIT ในฮันโนเวอร์ เยอรมนี เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างชาญฉลาด ตลอดจนสามารถช่วยเหลือผู้พิการทางร่างกายได้อีกด้วย

"เทคโนโลยี BCI นี้ช่วยให้คนเปิดไฟ เปลี่ยนช่องทีวี หรือเปิดประตูได้แค่นึกถึงมันเท่านั้น" Christoph Guger ซีอีโอของบริษัทวิศวกรรมการแพทย์ g.tec ของออสเตรียผู้พัฒนาเทคโนโลยีนี้กล่าวไว้

ทีมพัฒนาของ g.tec ประกอบไปด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยหลายชาติและจากสถาบันวิจัยต่างๆที่เป็นสมาชิกของโครงการ Presenccia ที่ร่วมมือกันเพื่อสร้างเทคโนโลยี BCI ขึ้นมา โดยมีการสร้างบ้านจำลองแบบ virtual reality (VR) ที่มีอุปกรณ์ภายในบ้านครบครันรวมอยู่ในโครงการนี้อีกด้วย

"ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ... ก็ทุกห้องที่บ้านทั่วไปมีนั่นแหละ คนสามารถเคลื่อนที่ไปยังที่ๆต้องการจะไปได้เพียงแค่นึกถึงสถานที่นั้นขึ้นมาเท่านั้นเอง"

ในการทดลองนี้ จะใช้ Electroencephalogram (EEG) ตรวจดูคลื่นสมองผ่านทางขั้วไฟฟ้าที่ติดกับศีรษะของผู้ใช้ หลังจากได้ฝึกซ้อมปฏิบัติการแล้ว ระบบสามารถเรียนรู้เพื่อแยกแยะได้ว่าลักษณะทางประสาทของผู้ใช้มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรเมื่อมีการสั่งงานที่แตกต่างกัน เช่นนึกถึงการเดินก้าวเท้าไปข้างหน้า, เปิดสวิตช์ไฟ หรือเปิดปิดวิทยุ เป็นต้น

เนื่องจากว่าการเคลื่อนย้ายและควบคุมวัตถุใน VR นี้เกิดจากพลังนึกคิดของสมองเท่านั้น จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการนำอุปกรณ์ชนิดนี้มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางร่างกาย เช่น สามารถช่วยให้ผู้พิการสามารถเปิดปิดโคมไฟเองได้ หรือควบคุมรถเข็นของตัวเองไปยังที่ต่างๆได้อย่างสะดวก

"ในการใช้งานจริงก็อาจจะใช้กับผู้พิการทางร่างกายให้สามารถควบคุมรถเข็นไฟฟ้าได้โดยใช้การสั่งการคอมพิวเตอร์ด้วยสมอง" เมล สลาเตอร์ หนึ่งในผู้เริ่มต้นโครงการนี้เปิดเผย

"และก็น่าจะปลอดภัยกว่าถ้าผู้พิการเหล่านี้จะเรียนรู้การใช้งานเครื่องนี้ผ่านทาง VR ก่อนจะนำไปใช้งานในสิ่งแวดล้อมจริงๆ ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดก็อาจจะทำให้ความพิการนั้นรุนแรงขึ้นได้อีก"

นอกจากนั้น g.tec ยังนำเทคโนโลยีนี้ไปควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็กให้ทำงานตามที่คนสั่งได้ด้วยการใช้ระบบแบบเดียวกัน โดยได้มีการสาธิตกล่องที่มีหลอดไฟ 4 อันอยู่แต่ตั้งให้มีความถี่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นวิธีที่รู้จักกันในชื่อ Steady State Visual Evoked Potentials (SSVEP)


"ตัวอย่างเช่นไฟดวงบนสุดนี้นะ ถูกตั้งไว้ที่ความถี่ 10 เฮิร์ตซ์ ถ้าผู้ใช้จ้องมาที่ไฟดวงนี้ เครื่อง EEG ก็จะตรวจสองความถี่ของคลื่นสมองผู้ใช้ แล้วก็จะไปสั่งงานหุ่นยนต์ให้เดินไปข้างหน้า หรือหากมองไปที่ไฟดวงอื่นที่มีความถี่ต่างกัน ก็จะทำให้หุ่นยนต์เดินไปทางซ้ายหรือทำอะไรอย่างอื่น" กูเกอร์อธิบาย

g.tec ยังนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้กับการอำนวยความสะดวกในการพิมพ์ โดยผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความได้ผ่านการนึกคิดของสโมสร โดยให้ผู้ใช้มานั่งอยู่หน้าตารางตัวอักษรและตัวเลขบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วเมื่อผู้ทำการทดลองบอกให้ผู้ใช้พิมพ์ตัวไหนก็ให้ผู้ใช้จ้องมองที่ตัวอักษรนั้น ระบบก็จะวิเคราะห์ดูว่าพฤติกรรมของสมองเมื่อมองอักษรนั้นเป็นอย่างไร และก็จะนำมาประมวลผล

ห"จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คนสามารถเรียนรู้วิธีการพิมพ์ให้เร็วได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 1 ตัวอักษรต่อระยะเวลา 0.8 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่ใกล้เคียงกับการพิมพ์ด้วยนิ้วเพียงนิ้วเดียว"

"สองปีที่แล้วนี่ต้องใช้เวลาเป็นนาทีเลยนะกว่าจะพิมพ์ออกมาได้ 1 ตัวอักษร และต้องใช้เวลาเป็นวันเลยกว่าจะฝึกให้คนๆหนึ่งพิมพ์ได้ ตอนนี้เราสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ระบบนี้ภายในเวลาเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น" กูเกอร์กล่าว

ปัจจุบัน ความเที่ยงตรงของเทคโนโลยี BCI นี้กำลังอยู่ในช่วงปรับปรุง โดย g.tec พบว่า 82 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ทั้งหมดสามารถใช้งานระบบนี้ได้อย่างเที่ยงตรง

"5 ปีที่แล้ว มีเพียงแค่คนเดียวในโลกที่สามารถใช้ระบบนี้ได้อย่างเที่ยงตรง" กูเกอร์หมายเหตุเอาไว้

คาดว่าซีอีโอของ g.tec จะนำเทคโนโลยี BCI นี้เข้ามาใช้งานในทางการแพทย์ก่อน เพื่อช่วยเหลือผู้พิการและรักษาผู้ที่พักฟื้นจากการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม เขาก็เชื่อว่าอีกไม่นานเทคโนโลยีนี้ก็คงจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ และหลังจากที่ได้ทดสอบใน VR มาแล้วนั้น บ้านแห่งอนาคตของ g.tec ก็เข้ามาอยู่ในส่วนหนึ่งของโครงการ SM4all จนได้ และได้รับการสนับสนุนจากทาง EU ให้ทำการวิจัยทดลองต่อไปอย่างเต็มที่อีกด้วย

g.tec ก่อตั้งขึ้นโดย hristoph Guger and Günter Edlinger ในปี 1999 ในฐานะร้านขายของที่ผลิตจาก Graz University of Technology เท่านั้น โดยจะขายเทคโนโลยีที่ได้รางวัลต่างๆให้กับบริษัทผู้ผลิตต่างๆ, มหาวิทยาลัย และสถานบันวิจัยอีก 55 ประเทศ

แปลจาก : http://www.sciencedaily.com/releases/2009/05/090511091733.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น