วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ร่างกาย เวลา 14 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อวัยวะบนร่างกายของฉัน เวลา 3 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………

1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน จ 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น อย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน จ 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน จ 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
มาตรฐาน จ 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. ตัวชี้วัด


จ 1.1 ป.4/2 อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะถูกต้องตามหลักการอ่าน
จ 1.1 ป.4/3 เลือก/ระบุภาพ หรือสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้นๆ ที่ฟัง หรืออ่าน
จ 1.1 ป.4/4 ตอบคำถามจากการฟังและอ่านประโยค บทสนทนา และนิทานง่ายๆ
จ 1.2 ป.4/1 พูด/เขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล
จ 1.2 ป.4/2 ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และคำขออนุญาตง่ายๆ
จ 1.2 ป.4/4 พูด/เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และครอบครัว
จ 1.3 ป.4/1 พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว
จ 1.3 ป.4/2 พูด/วาดภาพแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวตามที่ฟังหรืออ่าน
จ 2.2 ป.4/1 บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยค และข้อความของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย


3. สาระสำคัญ


อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค ข้อความง่ายๆได้ สามารถตอบคำถามจากการฟังและอ่านประโยค บทสนทนาง่ายๆ เลือกระบุภาพตามความหมายของประโยค ใช้คำสั่งคำของร้อง แบบง่ายๆ ให้ข้อมูลตัวเอง และเรื่องใกล้ตัว บอกความแตกต่างของเสียงอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยค ข้อความ ในเรื่องของอวัยวะต่างๆที่อยู่บนร่างกายได้อย่างถูกต้อง


4. สาระการเรียนรู้


4.1 คำศัพท์ที่ต้องจำ
4.2 โครงสร้างประโยค
4.- ฝึกแยกโทนเสียง


5. จุดประสงค์การเรียนรู้


5.1 จากหัวข้อ “คำศัพท์ที่ต้องจำ” นักเรียนจะต้องอ่านและจำคำศัพท์ได้
5.2 สามารถสนทนาตามโครงสร้างประโยคได้อย่างคล่องแคล่ว
5.3 อ่านพินอิน a , e ได้และสามารถแยกเสียง a , e เมื่อผสมกับเสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ได้


6. คุณลักษณะที่พึงประสงค์


6.1 ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง
6.2 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนในรายวิชาอย่างสม่ำเสมอ
6.3 เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเรียนในรายวิชา


7. ภาระชิ้นงาน


7.1 คัดคำศัพท์ที่ต้องจำ
7.2 ใบผลงาน เรื่อง วาดรูปใบหน้าให้ฉันหน่อย
7.3 แบบฝึกหัด



8. กิจกรรมการเรียนรู้


ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
1. เริ่มบทเรียนใหม่ ผู้สอนได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับบทนี้
ขั้นสอน
1. เข้าสู่หัวข้อฝึกแยกโทนเสียง เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักพยัญชนะและสระที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนี้
2.ผู้สอนใช้ตุ๊กตาสัตว์เป็นตัวอย่างพร้อมอธิบายความหมายของคำศัพท์ ตัวอย่าง 头 (หัว ศีรษะ) 腿 (ขา) 脚 (เท้า) 尾巴 (หาง) 短 (สั้น) 长 (ยาว) ขณะเดียวกันให้ผู้เรียนอ่านตาม เมื่อฝึกอ่านคำศัพท์เรียบร้อยแล้วผ้สอนให้ผู้เรียนฝึกอ่านประโยค ตัวอย่าง
这是我的头。 我有头。 我的头大。
(นี่คือศีรษะของฉัน) (ฉันมีศีรษะ) (ศีรษะของฉันใหญ่)
这是我的手。 我有手。 我的手小。
(นี่คือมือของฉัน) (ฉันมีมือ) (มือของฉันเล็ก)
这是我的尾巴。 我有尾巴。 我的尾巴长。
(นี่คือหางของฉัน) (ฉันมีหาง) (หางของฉันยาว)
3. เมื่อผู้เรียนสามารถจดจำและใช้งานคำศัพท์เกี่ยวกับส่วนต่างๆของร่างกายได้แล้วจึงเข้าสู้การฝึกฝนและพูด ครูชี้ส่วนต่างๆของร่างกายทีละส่วนและให้ผู้เรียนฝึกฝนตั้งคำถามและฝึกตอบ ตัวอย่าง
老师: 这是什么? 你又尾巴吗? 谁有尾巴?
ครู (นี่คืออะไร) (เธอมีหางไหม) (ใครมีหาง)
学生: 这是头。 没有。 小狗(猫)有尾巴。
นักเรียน (นี่คือศีรษะ) (ไม่มี) (ลูกสุนัข/ลูกแมวมรหาง)
ผู้สอนพูดชื่อส่วนต่างๆของร่างกายทีละส่วน เพื่อให้ผู้เรียนแสดงปฏิกิริยาทางร่างกายทีละส่วน

ขั้นสรุป
1. ให้ผู้เรียนฝึกจำและอ่านอักษรจีนจากพินอินและภาพประกอบ ฝึกฝนการออกเสียงคำศัพท์จากการอ่าน และฝึกการเขียนศัพท์และความหมายของคำศัพท์พร้อมกัน เมื่อฝึกฝนการอ่านเรียบร้อยแล้ว ผู้สอนแสดงการ์ดคำศัพท์พร้องอธิบายความหมาย(หรือชี้ไปยังส่วนต่างๆของร่ายกาย)
2. จากนั้นให้ผู้เรียนคัดคำศัพท์ที่ต้องจำ

ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำ
1. ก่อนเริ่มเข้าสู้หัวข้อต่อไป ผู้สอนได้อ่านศัพท์ที่ต้องจำในบทนี้ให้ผู้เรียนฟังอีกครั้งจากนั้นผู้สอนได้เปิดซีดีเสียงให้ผู้เรียนฟัง แล้วให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงตามซีดีเสียงอีกครั้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฟังเสียงจากเจ้าของภาษาโดยตรง

ขั้นสอน
1. หัวข้อฝึกสนทนา ผู้สอนอธิบายกลุ่มคำต่อไปนี้
两只手 尾巴长 (มือ 2 ข้าง หางยาว)
两只脚 尾巴短 (เท้า 2 เท้า หางสั้น)
四只脚 (เท้า 4 เท้า)
ผู้สอนถามเองตอบเองพร้อมสาธิต เพื่อช่วยอธิบายให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในรูปประโยคต่อไปนี้
老师有几只手? (ครูมีมือกี่ข้าง)
老师有两只手。 (ครูมีมือ 2 ข้าง)
ผู้สอนชูมือทั้งสองข้างออกมา
老师有几只脚? (ครูมีเท้ากี่เท้า)
老师有两只脚。 (ครูมีเท้า 2 เท้า)
ผู้สอนยื่นเท้าทั้งสองเท้าออกมา
ผู้สอนใช้นิ้วชี้ไปยังตุ๊กตาสุนัขที่อยู่ในมือ และกระตุ้นการถามตอบของผู้เรียน
老师:小狗有几只脚? ผู้สอน ลูกสุนัขมีเท้ากี่เท้า
学生:小狗有四只脚。 ผู้เรียน ลูกสุนัขมี 4 เท้า
ผู้สอนใช้นิ้วชี้ไปยังหางของตุ๊กตาสุนัขและตั้งคำถามกับนักเรียน
老师:这是什么? ผู้สอน นี่คืออะไร
学生:这是尾巴。 ผู้เรียน นี่คือหาง
老师:这是谁的尾巴? ผู้สอน นี่คือหางของใคร
学生:这是小狗的尾巴。 ผู้เรียน นี่คือหางของลูกสุนัข

2. เมื่อผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างประโยคข้างต้นและฝึกจนเกิดความชำนาญแล้ว ให้นักเรียนฟังซีดีเสียงในหัวข้อ “ฝึกสนทนา”และฝึกอ่านตาม ผู้เรียนพูดภาษาจีน ผู้สอนอธิบายความหมายเป็นภาษาไทย จากนั้นแบ่งกลุ่มผู้เรียนฝึกอ่านกลุ่มละ 2 คน แล้วฝึกฝนประโยคข้างล่างต่อไปนี้
两只手 也
两只脚 四只脚
小猫 尾巴长
小狗 尾巴短

ขั้นสรุป
1. จากนั้นให้ผู้เรียนได้ทำใบผลงาน เรื่อง วาดรูปใบหน้าให้ฉันหน่อย

ชั่วโมงที่ 3
ขั้นนำ
1. ก่อนเริ่มเข้าสู้หัวข้อต่อไป ผู้สอนได้ทบทวนศัพท์ที่ต้องจำและบทสนทนาในบทนี้ให้ผู้เรียนฟังอีกครั้งจากนั้นผู้สอนได้เปิดซีดีเสียงให้ผู้เรียนฟัง แล้วให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงตามซีดีเสียงอีกครั้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฟังเสียงจากเจ้าของภาษาโดยตรง

ขั้นสอน
1. หัวข้อฝึกเขียนตามตัวอย่าง หนังสือแบบเรียนหน้า 18 ผู้สอนเขียนคำศัพท์ตามลำดับการเขียนอักษรจีนทีละขั้นๆพร้อมอธิบาย ผู้เรียนลอกคำศัพท์ลงในหนังสือแบบฝึกหัดตามขั้นตอน ผู้สอนสังเกตการณ์เขียนของผู้เรียนในตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส สังเกตลำดับการเขียนที่ถูกต้องและสัดส่วนของตัวอักษร ผู้สอนเขียนเป็นตัวอย่าง ตรวจสอบ และให้คำแนะนำ

尾:
巴:
短:
长:
ขั้นสรุป
1. ทำแบบฝึกหัดในหนังสือแบบฝึกหัดหน้า 14 หัวข้อที่ 4 ฝึกเขียนละจำ และหน้า 12 หัวข้อที่ 2 จงโยงเส้นจับคู่แล้วเขียนอักษรลงในวงเล็บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น